- ลูกพลับ มีคุณสมบัติพิเศษคือมีฤทธิ์เย็น
- ลูกพลับ อุดมด้วยวิตามินเอและวิตามินซี กินได้ทั้งแบบสดและตากแห้ง ประโยชน์ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันต้อกระจก ตาฟาง
- ลูกพลับ เป็นผลไม้ที่มีแคลอรีและไขมันต่ำ และยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก
- ลูกพลับ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ซึ่งช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยและช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ฯลฯ
พลับ (Persimmon) หรือ ลูกพลับ เป็นผลไม้สีเหลืองถึงแดง เป็นพืชในสกุล Diospyros ซึ่งมีอยู่หลายสปีชีส์ด้วยกัน สปีชีส์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยมากที่สุดคือ D.kaki ญี่ปุ่นเรียกว่า คาขิ หรือ กากิ ถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเหนือของจีน มีการรับประทานพลับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นและถือเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า ต่อมาได้กระจายพันธุ์เข้าไปในญี่ปุ่น และกลายเป็นผลไม้ยอดนิยม พลับพันธุ์ที่นิยมปลูกในยุโรปเป็นสปีชีส์ D. virginia ซึ่งนำพันธุ์มาจากสหรัฐอเมริกา
สำหรับชาวจีนแล้วผลไม้อย่างลูกพลับเป็นที่นิมยมในการรับประทานอย่างมาก และถือว่าลูกพลับเป็นผลไม้มงคลที่แสดงถึงความมั่งมีศรีสุข เนื่องจากเปลือกของลูกพลับเมื่อสุกแล้วจะมีสีเหลืองทองราวกับทองคำ จึงเปรียบได้ดั่งผลไม้จากสรวงสวรรค์นั่นเอง และลูกพลับยังเป็นที่นิยมนำมาเป็นของขวัญตามเทศกาลต่างๆอีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานลูกพลับวันละ 1 ผลจะมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก
ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี
"พลับ" จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ กิ่งก้านมีขน สีน้ำตาล ใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่กลม แผ่นใบด้านบนจะมัน ส่วนด้านล่างจะมีขน ดอก มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละดอก ดอกมีสีนวล ผล มีขนาดใหญ่ กลมแป้น เมื่อสุกผิวผล จะมีสีเหลืองอมส้ม มีความนิ่ม ภายในมีเนื้อนุ่มๆ และมีเมล็ดแบน สีน้ำตาลฝังอยู่มากกว่าหนึ่งเมล็ด
"พลับ" มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน แต่กลับมีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเรียกว่าพลับ kaki ก่อนปี ค.ศ. 1900 kaki เป็นผลไม้ที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น และในปัจจุบันพบว่า มีการปลูกเพื่อการค้าพอประมาณในประเทศสหรัฐอเมริกา (ส่วนใหญ่ใน California) อิตาลี บราซิล อิสราเอล นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และส่วนอื่น ๆ ของโลก
สำหรับประเทศไทยไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจนว่ามีการปลูกพลับมาต้องแต่เมื่อใด สันนิษฐานว่าอาจจะมีการนำเมล็ดพลับมาจากประเทศพม่าเข้ามาปลูกเมื่อประมาณ 60 ปี เป็นพลับที่มีรสฝาดให้ผลดีพอควรแต่ผลมีขนาดเล็ก
ในปีพุทธศักราช 2512 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นำพันธุ์พลับมาจากต่างประเทศ (ร่วมทำงานวิจัยกับมูลนิธิโครงการหลวง) โดยปลูกทดสอบที่สถานีวิจัยดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ทราบว่าพลับบางพันธุ์สามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้ดีในบริเวณที่สูงทางภาคเหนือ หรือแม้แต่บริเวณที่สูงทางภาคตะวันตกในเขตอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี (สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร) ก็สามารถปลูกพลับบางพันธุ์ได้ผลดีเช่นกัน
ลักษณะและความแตกต่างของพลับมีความแตกต่างกันมากทั้งในส่วนของขนาดรูปทรง และสี แต่สามารถจำแนกประเภทออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
- กลุ่มที่มีรสหวาน (Non-astringent)
- กลุ่มที่มีรสฝาด (Astringent)
พลับที่ปลูกในประเทศไทยขณะนี้มีทั้งชนิดเป็น pollination และ pollinatoin variant มีทั้งที่เป็นพันธุ์ฝาด และไม่ฝาด โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิโครงการหลวงได้นำพันธุ์เหล่านี้เข้ามาจากหลายประเทศ ซึ่งมีพันธุ์ที่สำคัญได้แก่
1. พันธุ์ Fuyu เป็นพลับหวาน มีผลขนาดใหญ่
2. พันธุ์ P1 เป็นพลับฝาด มีผลขนาดใหญ่
3. พันธุ์ซือโจ หรือซิชู (Xichu) P2 เป็นพลับฝาด และเป็นพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตส่งเสริมของมูลนิธิโครงการหลวง
4. พันธุ อั้งไส (Ang-sai) หรือ P3 เป็นพลับฝาดผลค่อนข้างเล็ก
5. พันธุ์นูซิน (Niu scin) หรือ P4 เป็นพลับฝาดมีผลขนาดใหญ่
6. พันธุ์ Hyakume เป็นพลับไม่ฝาดมีผลค่อนข้างใหญ๋
7. พันธุ์ฮาชิยา (Hachiya) เป็นพลับมีรสหวาน
8. พันธุ์ไนติงเกล (Nightingale) เป็นพลับฝาด เมื่อสุกเต็มที่จะมีรสหวาน
9. พันธุ์ฮิราทาเนนาชิ (Hiratanenashi) เป็นพลับฝาดมีขนาดปานกลางถึงใหญ่
10. พันธุ์จิโร (Jiro) เป็นพลับหวาน
ผลสุก ใช้รับประทานเป็นผลไม้ นำมาเชื่อม ทำลูกพลับแห้ง ทำน้ำผลไม้
เนื้อผลพลับ ประกอบด้วยน้ำตาล วิตามินเอสูง มีวิตามินซี ธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียม คาร์โบไฮเดรต กรดต่างๆ สารที่มีสี และ อื่นๆผลแห้ง มีวิตามินเอสูงกว่าผลสด ถึง 3 เท่า ส่วนธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก ประโยชน์ในทางเป็นยาผลสุก มีสรรพคุณใช้เป็นยาธาตุ แก้ท้องเดิน ก้านผล กลีบเลี้ยง ใช้แก้อาการสะอึก และแก้ไอ น้ำจากผลดิบ ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
มีคำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานลูกพลับในขณะที่ท้องว่าง เพราะกระเพาะอาหารจะหลั่งกรดเกลือออกมามาก หากไปรวมตัวกับยาง และสารแขวนลอยในลูกพลับแล้ว จะทำให้เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ และเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
ลูกพลับ สามารถจำแนกตามรสชาติได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- ลูกพลับหวาน (Non-astringent) เช่น พันธุ์ฟูยุ (รสหวาน ผลสุกสีส้มอมเหลือง สามารถรับประทานสดๆได้)
- ลูกพลับฝาด (Astringent) เช่น พันธุ์ซิชู พันธุ์ฮาชิยา (รสฝาด เนื้อนิ่ม ผลสุกเนื้อสีส้มอมแดง ต้องนำมาผ่านกระบวนการลดความฝาดก่อนถึงจะรับประทานได้)
ซึ่งพลับทั้ง 2 พวกดังกล่าวยังแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 ชนิดคือ
- ชนิดสีเนื้อคงที่ (Pollination constant) และ
- ชนิดสีเนื้อเปลี่ยนแปลง (Pollination variant) เมื่อได้รับการผสมเกสร
ซึ่งพลับชนิดนี้ถ้าไม่มีการผสมเกสร สีของเนื้อจะเป็นสีเหลืองอ่อนและมีรสฝาด แต่ถ้ามีการผสมเกสรหรือมีเมล็ดเกิดขึ้นสีของเนื้อจะเปลี่ยนจากสีเหลืองอ่อนไปเป็นสีน้ำตาลแดงและไม่มีรสฝาด
- พลับไม่ฝาดชนิดที่สีของเนื้อเปลี่ยนแปลงไปตามการผสมเกสร(pollination variant, non astringent) หรือการมีเมล็ดนั้น ปริมาณสารละลายแทนนินจะไม่ปรากฏ ถ้าหากว่ามีเมล็ดอย่างเพียงพอ โดยปกติแล้วจะมีเมล็ด 4-5 เมล็ด แต่ถ้าการเกิดของเมล็ดมีน้อย 1 หรือ 2 เมล็ด บริเวณบางส่วนของผลที่ไม่มีเมล็ดเนื้อจะยังคงฝาดอยู่
- ส่วนพลับพวกที่ไม่ฝาดและสีเนื้อคงที่ สามารถจะรับประทานได้เลยในขณะที่ผลยังแข็งอยู่