แอปเปิ้ล จัดว่าเป็นผลไม้แห่งความรักและความสวยงาม ซึ่งเป็นผลไม้ต้องห้ามในสวนอีเดนซึ่งเป็นตัวแทนแห่งบาป ซึ่งอาดัมและอีฟฝ่าฝืนกฎด้วยการกินแอปเปิ้ล อีฟจึงถูกสาปให้คลอดลูกด้วยความเจ็บปวด ส่วนอาดัมต้องทำงานหาเลี้ยงท้องอย่างเหน็ดเหนื่อย ซึ่งคำสาปนี้ก็ได้ตกทอดมาถึงเราคนรุ่นปัจจุบัน
แอปเปิ้ล (Apple) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Malus Domestica มีถิ่นกำเนิดในประเทศอิหร่าน ปัจจุบันได้แพร่ขยายไปทั่วทวีปยุโรป และอเมริกา แอปเปิ้ลจึงจัดได้ว่าเป็นผลไม้เมืองหนาวที่นิยมรับประทานกันมากชนิดหนึ่ง สำหรับประเทศไทยก็มีปลูกเหมือนกันแถวๆภาคเหนือ เช่น ดอยอ่างขาง โดยแอปเปิ้ลนั้นมักนิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สด และอาจใช้ปรุงอาหารได้ด้วย เช่น สลัด แยม พาย ซอสแอปเปิ้ลก็มีนะ แต่ถ้าเป็นของไทยเราที่เห็นๆกันก็ใช้ใส่น้ำยำ น้ำพริก เป็นต้น
โดยคุณค่าทางโภชนาของแอปเปิ้ลต่อน้ำหนัก 100 กรัม จะให้พลังงาน 52 kcal และ 220 kJ และยังประกอบไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 กรดโฟลิก วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก และยังประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ โปรตีน อีกด้วย เห็นไหมละว่าคุณประโยชน์เต็มๆ สำหรับพันธุ์แอปเปิ้ลคาดกันว่าทั่วโลกจะมีอยู่ประมาณ 4,000-5,000 ชิด
- ประโยชน์ของแอปเปิ้ลแอปเปิ้ลสีแดง จะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเยอะที่สุด จึงเหมาะแก่การช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอย เป็นต้น
- แอปเปิ้ลสีชมพู มีสารที่ช่วยยับยั้งการเกิดฝ้าและช่วยชะลอความแก่ชราได้ และยังช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ลดไข้ ลดการอักเสบ และยังช่วยให้เส้น เลือดฝอยแข็งแรง
- แอปเปิ้ลเขียว มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เพราะมีน้ำตาลน้อยกว่าแอปเปิ้ลสีอื่น
- แอปเปิ้ลเหลือง จะมีสารที่ช่วยในการลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ต้อกระจก และโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ประโยชน์ของแอปเปิ้ล
- แอปเปิ้ลมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระมากมายที่ช่วยในการชะลอวัย
- แอปเปิ้ลเหมาะกับการเป็นอาหารที่ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดความอาหารลง แม้แอปเปิ้ลจะมีน้ำตาลแต่ร่างกายก็สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ ได้ภายในสิบนาที
- ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด หากรับประทานเป็นประจำวันละ 2-3 ผล
- เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด เพราะแอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำในปริมาณสูงที่จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
- เป็นอาหารที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยภาวะเลือดเป็นกรดไขข้อรูมาติก โรคเกาต์ ดีซ่าน
- แอปเปิ้ลก็มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดฝ้าได้เหมือนกันนะ
- ช่วยในการลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก
- ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
- ช่วยลดไข้ และช่วยลดการอักเสบ
- ช่วยละลายเสมหะ
- ช่วยลดความดันโลหิต
- ช่วยบำรุงหัวใจ
แอปเปิ้ลไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในเนื้อเท่านั้น สำหรับเปลือกก็จัดว่ามีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว สำหรับใครที่ไม่ชอบรับประทานเปลือก ขอให้รู้ไว้ว่าว่าเปลือกก็มีความสำคัญไม่แพ้เนื้อเลยทีเดียว เนื่องจากมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกายของเรา มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นเลิศ และที่สำคัญยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย ซึ่งก็ตรงกับงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุเอาไว้ว่าแอปเปิ้ลนั้นเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ “การรับประทานแอปเปิ้ลวันละ 1 ลูกจะป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง” แต่ทั้งนี้เวลากินก็ควรจะล้างน้ำให้ สะอาดด้วย (ไม่ต้องปอกเปลือกนะ ขนาดอาดัมกับอีฟยังหม่ำทั้งลูก)
- พลังงาน 52 กิโลแคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต 13.81 กรัม
- น้ำตาล 10.39 กรัม
- เส้นใย 2.4 กรัม
- ไขมัน 0.17 กรัม
- โปรตีน 0.26 กรัม
- น้ำ 85.56 กรัม
- วิตามินเอ 3 ไมโครกรัม 0%
- เบต้าแคโรทีน 27 ไมโครกรัม 0%
- ลูทีน และ ซีแซนทีน 29 ไมโครกรัม
- วิตามินบี1 0.017 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม 2%แอปเปิ้ล
- วิตามินบี3 0.091 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี5 0.061 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี9 3 ไมโครกรัม 1%
- วิตามินซี 4.6 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินอี 0.18 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินเค 2.2 ไมโครกรัม 2%
- ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 0.12 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุแมกนีเซียม 5 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุแมงกานีส 0.035 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุโพแทสเซียม 107 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.04 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุฟลูออไรด์ 3.3 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), USDA Nutrient database