Premium • Fruit : The Natural Quality Fruit

บทความสาระน่ารู้ > แครนเบอร์รี่

Post on 2015-09-16 Views : 02525

แครนเบอร์รี่

แครนเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ ภาษาอังกฤษ Cranberry จัดอยู่ในวงศ์ ERICACEAE[1] แครนเบอร์รี่ จัดเป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย นิยมปลูกเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ในอเมริกา ผลแครนเบอร์รี่เป็นผลสีแดงสด มีรสเปรี้ยวหวาน[3] สรรพคุณของแครนเบอร์รี่

1. ช่วยป้องกันโรคเหงือก[2]

2. ช่วยรักษาแผลในช่องท้อง[2]

3. ช่วยรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในท่อปัสสาวะ ขจัดกลิ่นปัสสาวะได้ดี (บ้างว่าใช้แก้อาการปวดปัสสาวะแบบกระปริบกระปอยได้ด้วย)[2]

4. ช่วยรักษาและป้องกันโรคที่มาจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ระบุว่า การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่วันละ 30 ml. จะช่วยลดจำนวนของแบคทีเรียในปัสสาวะลง และป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะได้ดี เพราะผลไม้ชนิดนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย[2]

5. ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.coli)[2] โดยมีรายงานว่าผู้หญิงที่ได้รับสารสกัดจากแครนเบอร์รี่อย่างต่อเนื่อง จะช่วยยับยั้งการยึดเกาะตัวของเชื้ออีโคไลได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.0001) เมื่อเทียบกับหญิงที่ไม่ได้รับสารสกัดจากผลแครนเบอร์รี่[5]

6. ด้วยความเป็นกรดอ่อน ๆ ของผลแครนเบอร์รี่ จึงสามารถช่วยยับยั้ง ป้องกัน และรักษาการเกิดนิ่วในไตได้[2],[3] การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ 500 มิลลิกรัม แล้วดื่มน้ำตาลอีก 1,500 มิลลิลิตร สามารถช่วยป้องกันการตกตะกอนของ Calcium oxalate ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของนิ่วในไตได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับการดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว[7]

7. ช่วยทำให้ร่างกายสามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติได้หลังเกิดอาการชัก[2] ไอศกรีมแครนเบอร์รี่แอปเปิ้ล Apple Cranberry Ice Cream

 

ประโยชน์ของแครนเบอร์รี่

1. แครนเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถนำมาบริโภคได้ทั้งในรูปของผลสด ผลตากแห้ง น้ำคั้น หรือจะนำไปทำเป็นเครื่องดื่มประเภทสมูทตี้ผลไม้ก็ได้ ด้วยการนำส้มคั้นลูกขนาดกลาง 1 ลูก เกรปฟรุต 1/2 ลูกคั้นเอาแต่น้ำใส่ลงในเครื่องปั่น แล้วเติมผลแครนเบอร์รี่ 2 กำมือ และกล้วยอีก 1 ผลลงไป ปั่นจนเข้ากัน แล้วนำมาดื่ม จะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้[3]

2. แครนเบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินซีสูง และยังประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมีที่ออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น Catechins, Quinic acid, Hippuric acid, Proanthocyanidins, Triterpenoids, และ Tannin จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม[2]

3. เนื่องจากแครนเบอร์รี่มีวิตามินซีสูง จึงช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่มากับอากาศหนาวได้ดี[2]

4. ช่วยป้องกันมะเร็งและต้านการก่อกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกาย[2] มีรายงานทางการแพทย์มากมายเกี่ยวกับการบริโภคแครนเบอร์รี่ว่าสามารถช่วยลดการเจริญเติบโต ของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมลูกหมากและอื่น ๆ ได้อีกมากมาย[4] โดยสารประกอบฟลาโวนอยด์ (Proanthocyanidins) จะเป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสาร Proanthocyanidins สามารถยับยั้งกลไกการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยหลายกลไก และพบว่าเป็นตัวเลือดที่ดีที่จะนำไปพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป[14] และยังมีผลในการทำลายเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ โดยสาร Proanthocyanidins จะเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายลง หรือเมื่อร่วมกับยารักษามะเร็งรังไข่ ก็จะไปช่วยเสริมฤทธิ์ยาในการลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง[15] การรับประทานแครนเบอร์รี่สามารถช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมในสัตว์ทดลองได้[3] Proanthocyanidins ที่พบได้มากในผลแครนเบอร์รี่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนมะเร็งและนำไปสู่การตายของเซลล์มะเร็งปอด[13]

5. สาร Proanthocyanidins ในผลแครนเบอร์รี่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด[2] แครนเบอร์รี่ประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระนกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Anthocyanin, Flavonoids, Proanthocyanidins) โดยที่ Flavonoids จะไปยับบั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันเลว (LDL) ทำให้ป้องกันเกิด Oxidized LDL ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบและอุดตันได้[8]

6. ช่วยลดไขมันเลว (LDL) ในเลือด ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย[2] สารต้านอนุมูลอิสระจากผลแครนเบอร์รี่สามารถเหนี่ยวนำให้ตัวรับไขมันเลว (LDL) ที่ตับทำงานมากขึ้น ส่งผลทำให้เพิ่มการขับออกของไขมันเลวจากระบบไหลเวียนของเลือด และเพิ่มการนำคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ตับเพื่อขับออกได้ จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลได้[9]

7. การรับประทานแครนเบอร์รี่เป็นประจำสามารถช่วยต่อต้านอาการป่วยเรื้อรังของสมองได้[2]

8. ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต[2]

9. แครนเบอร์รี่อุดมไปด้วยลูทีนและซีแซนทีนแครนเบอรี่ (Lutein & Zeaxanthin) ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา ช่วยป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายจ่อดวงตา ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย ช่วยกรองแสงสีน้ำเงินที่ทำลายดวงตา และช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคต้อกระจุก และโรคจอตาเสื่อมได้

 

ความคิดเห็น<

แสดงความคิดเห็น

Name Email
Comment